วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552

นิทาน และตำนาน สถานที่ในสุพรรณบุรี


ขุนช้าง-ขุนแผน

เป็นวรรณกรรมอมตะไทยมาช้านาน ตามประวัติกล่าวว่านักขับเสภาครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นผู้แต่ง ( เสภาคือหนังสือกลอนโบราณ ที่นำเอานิทานมาแต่งเป็นกลอนสำหรับขับลำนำ ) แต่เ
หลือมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์บางตอน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงโปรดให้เหล่ากวีในพระราชสำนักแต่งขึ้นใหม่ รวมทั้งพระองค์ท่านเองทรงพระราชนิพนธ์ ตอน "พลายแก้วเป็นชู้กับนางพิมพ์" ตอน "ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง" และตอน "เข้าห้องแก้วกิริยาและพาวันทองหนี"
รัชกาลที่ 3 ทรงพระราชนิพนธ์ตอน "ขุนช้างตามวันทอง" บรมครู
สุนทรภู่แต่งตอน "กำเนิดพลายงาม" ต่อมาครูแจ้งในรัชกาลที่ 4 แต่งตอน "กำเนิดกุมารทอง" ตอน "ขุนแผน พลายงามแก้พระท้ายน้ำ" และตอน "ขุนแผน พลายงามสะกดเจ้าเมืองเชียงใหม่"

ที่มาของเรื่อง กล่าวกันว่าเป็นจริงตามนิทานพื้นบ้าน เกิดขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2034 -2072 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ถูกสมมุติพระนามในเสภาว่า "พระพันวษา" เนื้อเรื่องเอาเกร็ดประวัติศาสตร์ตอนไทยทำสงครามกับเชียงใหม่และล้านช้าง แล้วเอามาผูกเข้ากับวิถีชีวิตของชาวเมืองสุพรรณและกาญจนบุรี โดยเฉพาะการชิงรักหักสวาทของ 1 หญิง 2 ชาย คือ นางพิมพิลาลัยหรือนางวันทอง ขุนแผนหรือพลายแก้ว และขุนช้าง อรรถรสทางด้านภาษาและเนื้อหา เป็นวิถีชีวิตวัฒนธรรมของคนยุคสมัยนั้น จนเป็นวรรณกรรมอมตะมาจนถึงทุกวันนี้

เรื่องย่อ

เรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องจริง ตามหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า กล่าวว่า มีกษัตริย์ใน สมัยกรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระพันวษา ครั้งหนึ่งเกิดสงครามกับนครเชียงใหม่ เนื่องจากพระเจ้าโพธิสารราชกุมาร เจ้าเมืองเชียงใหม่ ไม่ชอบที่พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตลานช้าง มาเป็นมิตรกับอยุธยา จึงยกทัพมาแย่งชิงพระธิดาแห่งลานช้างไป พระพันวษาทรงพระพิโรธ จึงมีราชโองการสั่งให้เตรียมทัพและตรัสกับพระหมื่นศรีมหาดเล็ก ให้เลือกทหารที่มีฝีมือมารบ ซึ่งในบัดนั้นผู้ที่จะเก่งกล้าเกินกว่าขุนแผนนั้นไม่มี แต่พระหมื่นศรีมหาดเล็กทูลพระพันวษาว่า ขุนแผนยังอยู่ในคุก พระพันวษาก็ทรงระลึกได้ถึงขุนแผน จึงทรงพระกรุณาโปรดให้ขุนแผนพ้นโทษโดยเร็ว และแต่งตั้งขุนแผนเป็นแม่ทัพออกรบ

ก่อนที่ขุนแผนจะออกรบได้แวะที่เมืองพิจิตร เพื่อรับดาบและม้าวิเศษประจำตัวขุนแผน (ดาบฟ้าฟื้นและม้าสีหมอก) ที่ฝากไว้กับพระพิจิตร และขุนแผนก็สามารถตีกองทัพเชียงใหม่จนแตกพ่าย ในคำให้การชาวกรุงเก่า มีเรื่องขุนช้างขุนแผนปรากฏอยู่เท่านี้ เห็นได้ว่าไม่ตรงกับเรื่องขุนช้างขุนแผนที่เราขับเสภากันอยู่ เพราะเรื่องนี้นำมาเล่าเป็นนิทานนานมาแล้วและยังแต่งเป็นกลอนเสภาอีก สันนิษฐานได้ว่าคงมีการตกแต่งเรื่องให้แปลกสนุกสนานและยาวยิ่งขึ้น

ตำนานรัก ขุนช้าง ขุนแผนและนางพิม
ขุนแผนบุตรชายของขุนไกร พลพ่าย ผู้เก่งกล้าอาศัยอยู่ที่บ้านย่านวัดตระไกร มีเ
พื่อนในวัยเด็กที่มาเล่นด้วยกันเสมอ คือขุนช้างและนางพิม จนกระทั้งขุนไกรถูกพระพันวษาประหารชีวิต เพราะไม่สามารถสกัดควายป่าไว้ได้ นางทองประศรีผู้มารดาจึงพาขุนแผนไปอยู่เมืองกาญจนบุรี และได้บวชเป็นสามเณรที่วัดส้มใหญ่ เล่าเรียนวิชาจนหมดความรู้ของพระอาจารย์

นางทองประศรีจึงนำมาฝากกับสมภารมีที่วัดป่าเลไลก์ เมืองสุพรรณ ขุนแผนมีความสามารถในการเทศน์มหาชาติกัณฑ์มัทรีได้ไพเราะจับใจ ในวันออกพรรษาสามเณรพลายแก้วได้ขึ้นเทศน์และเทศน์ได้ไพเราะนัก นางพิมก็เกิดศัทธา เปลื้องผ้าห่มสไบออกแทนเครื่องบูชากัณฑ์ ขุนช้างเห็นก็เปลื้องผ้าห่มของตน วางทับผ้านางพิมพ์ แล้วอธิษฐานให้ได้เจ้าของผ้าห่มสไบ ค่ำวันนั้นหัวใจของพลายแก้วและขุนช้างต่างก็ร้อนรุ่มด้วยความรักที่มีต่อนางพิม ฝ่ายขุนช้างแม้รูปชั่วหัวล้าน แต่ร่ำรวยได้ไปขอนางพิม นางสายทองเห็นดังนั้นจึงนำความไปบอกสามเณรพลายแก้วที่วัดป่า สามเณรยามอยู่ลำพังกับนางสายทองก็อดพูดจาหยอกเอินกับนางไม่ได้ ทราบถึงสมภารมี จึงได้ไล่พรายแก้วออกจากวัด สามเณรจึงไปอาศัยอยู่กับสมภารคงที่วัดแค และได้เล่าเรียนวิชาคาถาอาคม เสกใบมะขามเป็นตัวต่อ สะเดาะโซ่ตรวนกุญแจ ล่องหนหายตัว อยู่ยงคงกระพัน และได้แอบเข้าไปลักลอบได้เสียกับนางพิมพ์ ต่อมาพลายแก้วได้ไปเป็นทหาร และกลับมาพร้อมเมียใหม่ ทำให้นางพิมโกรธและเสียใจ ในขณะที่ขุนช้างก็ยังใช้เล่ห์เพื่อที่จะได้นางพิมมาเป็นเมีย จนในที่สุดนางพิมก็ตกเป็นเมียขุนช้าง

ขุนแผนจึงนำเรื่องไปให้พระพันวษาตัดสินความ เมื่อสมเด็จพระพันวษา ตรัสถามว่าจะอยู่กับใคร นางก็ไม่อาจตัดสินใจได้ ขุนแผนนั้นแม้จะรักมาก แต่ก็ทำให้นางทุกข์ยากด้วยรักมานักหนา ขุนช้างนั้นน่าเบื่อระอา แต่ก็รักนางอย่างจริงใจ นางจึงตอบไปว่า แล้วแต่ทรงพระกรุณา สมเด็จพรพพันวษาทรงกริ้ว ให้นำนางวันทองไปประหารชีวิต
ชีวิตของนางพิมหรือนางวันทองนั้นไซร้ ในท้ายสุดก็ไม่อาจอยู่ร่ามกับสามีและลูกได้อย่างมีความสุข เฉกเช่นชีวิตครอบครัวชาวบ้านทั่วๆไป

นิทานเมืองสุพรรณ

ท่าตาจวง นานมาแล้ว มีชายคนหนึ่งนามว่า ตาจวง อาศัยอยู่เมืองอยุธยา มีวิชาแปลงตนเวทย์มนต์และคงกระพันชาตรี มีเมียสองคน ชื่อนางอรุณเมียหลาง และนางสุวรรณ เมียน้อย อยู่มาจนนางทั้งสองตั้งท้อง นางอรุณเมียหลวงแพ้ท้องอยากกินลูกสมอ ในละแวกที่ทั้งสามอยู่หามีต้นสมอไม่ ด้วยความรักเมียตาจวงจึงพาเมียทั้งสองเดินทางเข้าป่ามายังเขตเมืองสุพรรณ เมื่อเก็บลูกสมอได้แล้วก็เดินทางกลับอยุธยา

แต่ระหว่างทางเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ทั้งสามวิ่งหลบฝนจนมาถึงคลองระกำ ซึ่งมีน้ำป่าใหลหลากไม่สามารถข้ามได้ ตาจวงจึงบอกกับเมียทั้งสองว่า เดี๋ยวพี่จะแปลงร่างเป็นจระเข้ นอนขวางคลองไว้เมื่อนางอรุณข้ามไปถึงอีกฝากหนึ่งก็ให้นางสุวรรณข้ามตามไป แล้วเอาน้ำมนต์ที่แกทำขึ้น ราดบนหัวจระเข้ ร่างก็จะกลับมาเหมือนเดิม

ครั้นนางอรุณซึ่งถือขันน้ำมนต์ข้ามไปถึงอีกฝากหนึ่ง เหลือบเห็นดวงตาของจระเข้ใหญ่ เกิดความกลัวทำขันน้ำมนต์ตกลงพื้น จระเข้ตาจวงก็ไม่สามารถคืนร่างเป็นคนได้ แต่ด้วยความรักเมียทั้งสอง จระเข้ตาจวงจึงขุดถ้ำอยู่ริมสองฝังคลองนั้น ส่วนเมียทั้งสองก็อาศัยอยู่คนละฝากคลอง มีลูกมีหลานสืบเชื้อสายมาจนถึงทุกวันนี้

ท่าตาจวงเป็นเรื่องเล่าของทางสามชุก ซึ่งจะคล้ายกับเรื่อง วังตาเพชร บ้านคอวัง ของบางปลาม้า

วัดนางบวช

กาลครั้งหนึ่ง มีพรานป่าชื่อ ตาสีนน เป็นคนที่มีร่างกายสกปรก เต็มไปด้วยแผล ฝีหนอง เป็นที่รังเกลียดของสาวทั่วไป วันหนึ่งพรานตาสีนน นำไก่ต่อเข้าไปล่อไก่ป่าที่เชิงเขา ได้เห็นสาวงามนางหนึ่งกำลังนั่งปั่นฝ่ายอยู่บนเขา ตาสีนนเกิดความรักในตัวนาง จึงผูกไก่ต่อใว้กับแท่งหิน แล้วแปลงร่างเป็นงูใหญ่หมายเข้าไปใกล้ชิดนาง

ด้านสาวนางนั้นเมื่อเห็นงูใหญ่ก็ตกใจ คว้าคองูมากำไว้แน่น แล้วใช้มีดเชือดคองูตัวนั้นถึงแก่ความตาย จึงเรียกที่นั้นว่า กำมาเชือด แล้วเพี้ยนมาเป็น กำมะเชียร หลังจากหายตกใจนางก็เกิดรู้สึกเสียใจที่ได้ทำร้ายงูตัวนั้น นางจึงใช้มีดตัดนมทั้งสองของตนโยนทิ้งไปกลายเป็น เขานมนาง อยู่คู่กัน นางวิ่งลงจากเขาทางทิศใต้จนถึงเขาอีกลูกหนึ่งนางร้องด้วยความเจ็บปวด จึงเรียกเขานั้นว่า เขานางโอย ส่วนเขาที่นางนั่งปั่นฝ้ายเรียก เขากี่ ส่วนด้านหลังเขากี่ ก็เกิดบึงขนาดใหญ่ จากเลือดของนางและตาสีนน

ต่อมากล่าวว่ามีกุ้งปูปลามากมาย แต่มีผู้จับนำไปกินเป็นอาหารก็จะถึงแก่ความตาย หรือไม่ก็เกิดแผลงพุพอง ทรมารยิ่งนัก เลยเป็นที่กล่าวขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ไม่มีใครกล้าไปจับสัตว์ในบึงแห่งนี้

ส่วนนางเมื่อฟื้นขึ้นก็เห็นแม่น้ำใหญ่ขวางตรงหน้า ทันใดนั้นก็มีช้างสารตัวใหญ่รับนางไปส่งยังอีกฝากหนึ่ง ชาวบ้านเรียก ท่าช้าง นางก็เดินทางต่อมาจนถึงเขาลูกหนึ่งนางได้สร้างศาล และตัดผม และโกนคิ้วที่เขานั้นเรียก เขานางคิ้ว นางนั่งเรือจากท่าช้าง ล่องตามลำน้ำที่เย็นฉ่ำ หายจากเศร้าหมองเกิดความรู้สึกสดชื่น เรียกที่นั้นว่า ท่านางเริง และขึ้นไปบนเขา เรียกเขาขึ้น

พร้อมตั้งจิตขอบวชเป็นแม่ชีตลอดชีวิต ที่วัดไกล้ๆเขานั้น จึงเรียกนามวัดนั้นว่า วัดนางบวช
เป็นนิทานเล่าต่อๆกันมาโดยมีสถานที่ต่างๆอยู่ในเขตอำเภอเดิมบางนางบวช

นิทานบ้านเก้าห้อง ครั้งสมัยพม่ายกทัพเข้าไปรุกรานชาวเวียงจันทร์ ชาวลาวจากเวียงจันทร์ได้พาครอบครับหนีพม่า แตกกระเจิงไปตามที่ต่างๆ บางพวกก็หนีเข้ามาจนถึงเมืองสุพรรณ และแยกย้ายไปอยู่เป็นกลุ่มๆ ตามที่ต่างๆ

มีพวกหนึ่งนำโดย ขุนกำแหง ที่มีความสามารถ เป็นที่นับถือของชาวลาว อพยบมา มาทางบางปลาม้า เห็นทำเลดี มีแม่น้ำท่าจีนใหลผ่าน จึงช่วยกันหักร้างถางพง ทำไร่ทำนากลายเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้น ขุนกำแหงกับชาวลาวอพยบ ได้สร้างบ้านเรือนลักษณะติดกันจำนวน สี่ห้อง แต่ไม่นานก็ถูกไฟใหม้หมด ขุนกำแหงให้โหรมาดู และทำนายว่ามีทางแก้ให้ดีได้ โดยจะต้องปลูกห้องให้มีจำนวน เก้าห้อง และต้องสร้าง ศาลเจ้าปู่บ้านย่าเมือง ไว้สักการะบูชา

ขุนกำแหงได้สร้างบ้านตามคำโหรและสร้างศาลไว้บูชา จากนั้นเป็นต้นมาผู้คนที่แห่งนี้ก็อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขสืบต่อกันมานับร้อยปี

สองพี่น้อง บางแม่หม้าย นานมาแล้วมีพี่น้องสองคนกำพร้าพ่อและแม่ มีบ้านอยู่ชิดติดคลองใหญ่ สองพี่น้องเป็นคนที่มีความขยัน สร้างฐานะจนมีสมบัติมากมาย แต่ยังขาดผู้ที่จะมาเป็นภรรยา

ครั้นได้ทราบข่าวว่ามีสาวงามลูกเศรษฐีใหญ่ ที่บ้านท่าตลาด จึงให้แม่สื่อไปสืบดู แม่สือกลับมารายงานว่าเป็นดั่งคำเล่าลือจริง พี่น้องทั้งสองรู้สึกยินดียิ่งนัก ให้แม่สือไปสู่ขอ ฝ่ายเศรษฐีเห็นว่าสองพี่น้องมีความขยันหมั่นเพียร จึงตอบตกลง สองพี่น้องได้จัดขบวนขันหมากขึ้นเรือสำเภาแล่นขึ้นเหนือ ในขบวนก็มีทั้งดนตรี พ่อครัวทำอาหาร ร้องเล่นสีซอกันสนุกสนาน เรียกย่ายนั้นว่า บางซอ และที่ใกล้ๆกันเรียก สีสนุก

แต่เหตุไม่คาดฝันก็เก็ดขึ้น เกิดลมพายุฝนฟ้ากระหน่ำพัดเรือสำเภาล่มลง เรียกว่า สำเภาทลาย ต่อมาเปลี่ยนเป็น สำเภาทอง หลังสำเภาล่มผู้คนใหว้น้ำเข้าฝังแต่สองพี่น้องถูกจระเข้คาบว่ายทวนน้ำขึ้นเหนือ มาทางบ้านท่าตลาด สาวสองพี่น้องลูกเศรษฐีเห็นดั่งนั้นก็ตกใจ วิ่งตามจระเข้นั้นไปจนสุดทางที่จะตามได้ เรียกว่า วัดสุด นางทั้งสองเดินไปด้วยความอ่อนล้าจนเดินไม่ใหวทรุดตัวลงนั่ง เรียกที่นั้นว่า โคกนางอ่อน จนถึงอีกวัดหนึ่งชื่อ วัดโพนางเศร้า ตอนหลังเปลี่ยนเป็น วัดโพนางเซา

จนในที่สุดก็มาพบศพของสองพี่น้องและได้สร้างวัดชื่อวัดศพ ต่อมาเปลี่ยนเป็น วัดประสบสุข ส่วนสองสาวกลับบ้านท่าตลาด ก็เปลี่ยนเป็น บางแม่หม้าย ส่วนบ้านที่สองพี่น้องอยู่ก็คือ สองพี่น้อง จนถึงทุกวันนี้
อีกทางหนึ่งก็ว่าเดิมบ้านท่าตลาดเป็นหมู่บ้านของเศรษฐี แต่เกิดสงคราม ชายในหมู่บ้านถูกเกณฑ์ไปรบ และล้มตายเกือบหมด เหลือเพียงเด็ก ผู้หญิง และคนแก่จึงเรียกกันต่อมาว่า บางแม่หม้าย

บ้านยุ้งทลาย

ยังมีชายคนหนึ่งนามว่า ตาขุนทอง หรือ ขุนพุดาด เป็นคนมียศศักดิ์ ฐานะร่ำรวย และเป็นคนที่มีความรู้ในเรื่องเล่นแร่แปรธาตุ ทุกวันแกจะไปยังบ่อแร่ และนำมาที่วัดใกล้บ้าน ตกเย็นแก่จะกลับบ้านพร้อมกับถุงเงิน สี่ถุง และนำไปใส่ใว้ในยุ้งข้าว มีเพียงแก่และลูกสาวเท่านั้นที่รู้เรื่องนี้

และแกก็ให้ลูกสาวสาบานไว้ว่าจะไม่เปิดเผยเรื่องนี้แก่ผู้ใด จนลูกสาวของตาขุนทองแต่งงาน สามีก็เข้ามาอยู่ร่วมบ้านเดียวกัน และสังเกตุเห็นพ่อตากลับมาพร้อมเงิน สี่ถุงทุกวัน เกิดความสงสัยแต่ไม่กล้าถามพ่อตา จึงได้เอ่ยปากถามเรื่องนี้กับเมีย ส่วนลูกสาวตาขุนทองได้สาบานไว้แล้ว ก็ไม่กล้าเปิดเผยให้สามีฟัง แต่สามีก็รบเร้า นางจึงบอกเป็นนัยๆ สามีจึงเฝ้าตามดูพ่อตา ส่วนพ่อตาก็รู้สึกผิดสังเกตุ และคิดว่าลูกสาวไม่รักษาคำสัญญา แกจึงฆ่าลูกสาว

ตาขุนทองถูกจับกุมและตายในคุกพร้อมกับความลับของตำราแปรแร่เป็นเงิน ส่วนยุ้งที่ตาขุนทองเก็บเงินใว้รับน้ำหนักไม่ใหวพังทลายลงมา ชาวบ้านย่านั้นก็พากันไปเก็บมา จึงเรียกที่นั้นว่า บ้านยุ้งทลาย ส่วนที่แกไปขุดก็เรียก บ่อแร่ ส่วนวัดที่แกเอาแร่ไปถลุงก็เรียก วัดโบสถ์
เป็นเรื่องที่เล่าขานสืบมาในเขตอำเภออู่ทอง

แวะเหนื่อยให้อาหารตัวHamster หน่อย (กดในกรงเลย)

การเดินทางจากกรุงเทพมหานคร

เส้นทางคมนาคม
ห่างจากกรุงเทพฯ 107กิโลเมตร

การเดินทาง : -
ข้อมูลโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ทางรถยนต์ :-
กรุงเทพฯ-บางบัวทอง-สุพรรณบุรี หรือ กรุงเทพฯ- นนทบุรี-บางบัวทอง-สุพรรณบุรี ระยะทาง 107 กิโลเมตร

กรุงเทพฯ-ปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว-สุพรรณบุรี ระยะทาง
115 กิโลเมตร

กรุงเทพฯ-อยุธยา-สุพรรณบุรี ระยะทาง 132 กิโลเมตร

กรุงเทพฯ-สิงห์บุรี-เดิมบางนางบวช-สุพรรณบุรี ระยะทาง
228 กิโลเมตร

กรุงเทพฯ-อ่างทอง-สุพรรณบุรี ระยะทาง 150 กิโลเมตร

กรุงเทพฯ-นครปฐม-กำแพงแสน-สุพรรณบุรี ระยะทาง
164 กิโลเมตร

ทางรถโดยสารประจำทาง :-
รถที่ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนน กำแพงเพชร 2 มีทั้งรถธรรมดาและปรับอากาศ รายละเอียดติดต่อ
โทร. 936-3660, 936-3666
รถที่ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ มีรถธรรมดาและรถปรับอากาศชั้น 2 รายละเอียดติดต่อโทร. 435-1200, 434-7192

ทางรถไฟ :-
มีรถไฟออกจากสถานีรถไฟบางกอกน้อย (ธนบุรี) วันละ 1 เที่ยว รายละเอียดติดต่อสอบถามได้ที่หมายเลข โทร. 411-3102

ทางรถตู้

ต้นทางที่อนุสาวรีย์ชัย

ต้นทางที่กองสลาก

ต้นทางที่ร้านอาหารกุ้งหลวงปิ่นเกล้า


(ระเวลาในการเดินทางจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ1ช.ม.โดยประมาณ)



แนะนำเมืองท่องเที่ยว สุพรรณบุรี


สุพรรณบุรีเป็นเมืองโบราณ พบหลักฐานทางโบราณคดีมีอายุไม่ต่ำกว่า 3,500-3,800 ปี โบราณวัตถุที่ขุดพบมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสำริด ยุคเหล็ก และสืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมราวดี ทวารวดี และศรีวิชัย สุพรรณบุรีเดิมมีชื่อว่า ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือ พันธุมบุรี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน แถบ บริเวณตำบลรั้วใหญ่ไปจดตำบลพิหารแดง ต่อมาพระเจ้ากาแตได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน 2,000 คนบวช จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า สองพันบุรี ครั้งถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองมาทางฝั่งใต้หรือทางตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ชื่อเมืองเรียกว่า อู่ทอง จวบจนสมัยขุนหลวงพะงั่ว เมืองนี้จึงถูกเรียกว่าชื่อว่า สุพรรณบุรี นับแต่นั้นมา

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองสุพรรณบุรีเป็นเมืองหน้าด่านและเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ ต้องผ่านศึกสงครามหลายต่อหลายครั้ง สภาพเมืองตลอดจนโบราณสถานถูกทำลายเหลือเป็นซากปรักหักพัง จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองสุพรรณบุรีได้ฟื้นตัวขึ้นใหม่ และตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน (ลำน้ำสุพรรณ) มาจนตราบทุกวันนี้

ความสำคัญของสุพรรณบุรีในด้านประวัติศาสตร์การกอบกู้เอกราชไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ ชัยชนะแห่งสงครามยุทธหัตถีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ณ สมรภูมิดอนเจดีย์ เป็นมหาวีรกรรมคชยุทธอันยิ่งใหญ่ที่ได้ถูกจารึกไว้ และมีการจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทุกปี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ ในด้านวรรณคดี เป็นเมืองต้นกำเนิดแห่งตำนาน "ขุนช้างขุนแผน" วรรณคดีไทย เรื่องราวและสถานที่ที่ปรากฏตามท้องเรื่องยังคงมีให้เห็นในปัจจุบัน อาทิ บ้านรั้วใหญ่ วัดเขาใหญ่ ท่าสิบเบี้ย ไร่ฝ้าย วัดป่าเลไลยก์ วัดแค อำเภออู่ทอง และอำเภอศรีประจันต์

สุพรรณบุรี ดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์บนพื้นที่ราบภาคกลางสืบสานความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีตเมื่อ พ.ศ. 1420 จากนามเดิมเมืองพันธุมบุรีในยุคทวารวดีตามหลักฐานทางโบราณคดีได้จารึกชื่อ ไว้ในพงศาวดารเหนือ และนาม "สุพรรณภูมิ" ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชระบุว่าเป็นนครรัฐที่ มีความสำคัญมาก่อนกรุงศรีอยุธยา เมื่อมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เมืองสุพรรณบุรีจึงจัดอยู่ในฐานะเมืองลูกหลวงซึ่งเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่ สำคัญอีกด้วย

สภาพทางภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของสุพรรณบุรีเป็นที่ราบต่ำติดชายฝั่งแม่น้ำ มีทิวเขาขนาดเล็กอยู่ทางเหนือและทางตะวันตก ด้านตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่ราบลุ่มของแม่น้ำสุพรรณบุรี (แม่น้ำท่าจีน) ใช้เป็นพื้นที่ปลูกข้าว